วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

พินัยกรรม

พินัยกรรม
พินัยกรรมมีความสำคัญ ก่อนที่จะทำพินัยกรรมต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ดีว่า เจตนายก ทรัพย์สินให้ใคร อย่างไร เพราะการทำพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายของเรานั้น ไม่จำเป็นต้อง ให้ทายาทตามกฎหมายของเราเท่านั้น หากพินัยกรรมได้ทำไปแล้วและถูกต้องก็ต้องบังคับตาม พินัยกรรม ทายาทอื่นจะมาอ้างขอแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่ทำยกให้ผู้อื่นไปแล้วมิได้ เพราะพินัยกรรมคือส่วนเจตนาที่สำคัญของเจ้ามรดกที่กฎหมายยอมรับและบังคับให้ ประการสำคัญ พินัยกรรมนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนด บางครั้งมีความละเอียดปลีกย่อย ออกไปมากยากแก่การอธิบายให้เข้าใจได้โดยละเอียด เพียงหนังสือฉบับนี้ ถึงแม้เรามีความรู้ พออ่านออกเขียนได้ ก็ควรจะทำที่อำเภอ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยบริการจัดทำพินัยกรรมให้เรา เรียกว่า พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เมื่อเราไปพบเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอ แสดงความ ประสงค์จะทำพินัยกรรม เจ้าหน้าที่ก็จะจัดทำให้ พินัยกรรมทุกแบบ เมื่อได้ทำขึ้นแล้วนั้น ผู้ทำพินัยกรรมมีสิทธิจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ทุกประการ สามารถยกเลิกได้โดยแก้ไข หรือทำพินัยกรรมฉบับใหม่ ซึ่งถือว่าพินัยกรรมฉบับเก่า ถูกเพิกถอนไปแล้ว หรือสามารถฉีกทำลายพินัยกรรมเสียก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ทำพินัยกรรมโดยตรง

ตัวอย่าง แบบพิมพ์ แบบฟอร์ม พินัยกรรมแบบเขียนเอง


พินัยกรรม
 
 
ทำที่……………………………….
วันที่…………เดือน……………………พ.ศ. ………...
ข้าพเจ้า…………………อายุ……ปี อยู่บ้านเลขที่…หมู่ที่…...….. ถนน…………ตำบล/แขวง…………………
อำเภอ/เขต...........................…............ จังหวัด.............................
ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้ เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้ทรัพย์สินของข้าพเจ้า
ทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีต่อไปในอนาคตตกได้แก่..........
...............................แต่ผู้เดียว
พินัยกรรมนี้ ข้าพเจ้าเขียนด้วยลายมือของข้าพเจ้าทั้งฉบับ ได้ทำไว้ ๒ ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรง
กันทุกประการ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่............................ อีกฉบับหนึ่งเก็บไว้
ที่.......................................
ขณะทำพินัยกรรมข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะปกติ
ข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว

ลงชื่อ................................................ผู้ทำพินัยกรรม


พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา

พินัยกรรมของ……………………………
เขียนที่.............................
วันที่………เดือน……………………..พ.ศ..…………
ด้วย……………………..…(ชื่อพยาน)………….………อยู่บ้านเลขที่……………..หมู่ที่……… ตำบล…………..…………………..อำเภอ………………….
จังหวัด…………………………..……. กับ……………………(ชื่อพยาน)……………….อยู่บ้านเลขที่………..หมู่ที่………ตำบล………………...…… อำเภอ…………………..…….จังหวัด…………..……………… พยาน…………..…..คน ได้แจ้งมาว่า………..…(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)
อยู่บ้านเลขที่………… หมู่ที่………..ตำบล………………………อำเภอ…………………………..จังหวัด………………………………ได้……………..…..…..
(ระบุพฤติการณ์พิเศษที่ขัดขวางมิให้ทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นได้)
………………………………………………………………………………………………………..…… ซึ่งไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบต่างๆ ที่ได้
กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ แสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้า
พยานซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ…..… (สถานที่ทำพินัยกรรม)….....…เมื่อวันที่….…..เดือน……….….……….พ.ศ….………ดัง
มีข้อความต่อไปนี้

ข้อ 1 ถ้า……..…..(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)…………. ถึงแก่ความตายไปแล้ว ให้บรรดาทรัพย์สินของ ..…..…..
(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)……………..ที่มีอยู่และจะเกิดขึ้นภายหน้า ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้
ในพินัยกรรมนี้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ
(1) ……………………………………………………….
(2) ……………………………………………………….
(3) ……………………………………………………….

ข้อ 2 …………(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)………ขอให้มอบพินัยกรรมนี้แก่………………………………… และขอตั้ง
ให้……………………………………………เป็นผู้จัดการมรดกและให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทุกประการ

ข้อ 3 …………………………………………………………..………………………………………… ………..………

ข้อ 4 ข้อความแห่งพินัยกรรมนี้ กรมการอำเภอได้อ่านทบทวนให้พยานฟังโดยตลอดแล้วพยานยืน
ยันว่าเป็นการถูกต้องตรงตามความที่………..…(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)…………….สั่งไว้ด้วยวาจาทุกประการ
จึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้ากรมการอำเภอเป็นสำคัญ

(ลงลายมือชื่อ)………………………………….พยานผู้รับคำสั่งจากผู้ทำพินัยกรรม
(ลงลายมือชื่อ)………………………………….พยานผู้รับคำสั่งจากผู้ทำพินัยกรรม
(ลงลายมือชื่อ)………………………………….พยานรับรองลายมือชื่อ
(ลงลายมือชื่อ)………………………………….พยานรับรองลายมือชื่อ
วันที่…………..เดือน…………………………..พ.ศ…………...
ลายมือชื่อ……………………………………….กรมการอำเภอ
ประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ
ลงสมุดทะเบียนพินัยกรรมแล้วเลขที่…………………………..
.....................
เจ้าหน้าที่

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

การสมรสสิ้นสุดลงเมื่อ

การสิ้นสุดการสมรส
เมื่อมีการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วการสมรสนั้นจะสิ้นสุดลงด้วยเหตุต่าง ๆ ดังนี้
๑. เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย
๒. เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนเพราะการสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ (ขอให้ดูเรื่องการสมรสที่เป็นโมฆียะ)
๓. โดยการหย่าซึ่งการหย่านั้น ทำได้ ๒ วิธี
๓.๑ หย่าโดยความยินยอม คือ กรณีที่ทั้งคู่ตกลงที่จะหย่ากันได้เอง กฎหมายบังคับว่าการหย่าโดยความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย ๒ คน และถ้าการสมรสนั้นมีการจดทะเบียนสมรส (ตามกฎหมายปัจจุบัน) การหย่าก็ต้องไปจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียน ที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอด้วย มิฉะนั้นการหย่าย่อมไม่สมบูรณ์
๓.๒ หย่าโดยคำพิพากษาของศาล กรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งประสงค์จะหย่า แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการหย่าจึงต้องมีการฟ้องหย่าขึ้น เหตุที่จะฟ้องหย่าได้คือ(๑) สามีอุปการะเลี้ยงดู หรือยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาหรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้(๒) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติเช่นนั้นเป็นความผิด อาญาหรือไม่ ถ้าความประพฤติเช่นนั้นเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง- ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง- ได้รับความดูถูกเกลียดชัง หากยังคงสถานะของความเป็นสามีภริยากันต่อไป - ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
คำว่า "ประพฤติชั่ว" เช่น สามีเป็นนักเลงหัวไม้ เที่ยวรังแกผู้อื่น เล่นการพนัน หรือสูบฝิ่น กัญชา เป็นต้น
(๓) สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหมิ่นประมาทหรือ เหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องเป็นการร้ายแรงด้วย อีกฝ่ายจึงจะฟ้องหย่าได้
(๔) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิด ๑ ปี อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
การละทิ้งร้างนี้ หมายถึง การที่ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่ง แต่หากไม่เป็นการจงใจ เช่น ต้องติดราชการทหารไปชายแดน เช่นนี้ไม่ถือเป็นการทิ้งร้าง
(๕) ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกจำคุกเกิน ๑ ปี โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนในความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเห็นใจ และการเป็นสามีภริยากันจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อยเกินควร อีกฝ่ายฟ้องหย่าได้
(๖) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ตลอดมาเกิน ๓ ปี หรือแยกกันอยู่ ตามคำสั่งเป็นเวลาเกิน ๓ ปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(๗) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือ ถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกิน ๓ ปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(๘) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง ตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยาอย่างร้ายแรง แต่การกระทำนั้นต้องถึงขนาดที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนโดยเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(๙) สามีหรือภริยาเป็นบ้าตลอดมาเกิน ๓ ปี และความเป็นบ้านนั้น มีลักษณะยากที่จะหายได้ และความเป็นบ้าต้องถึงขนาดที่ จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(๑๐) สามีหรือภริยาทำผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือ ในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ เช่น สามีขี้เหล้า ชอบเล่นการพนัน ย่อมทำหนังสือทัณฑ์บนไว้กับภริยาว่าตนจะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีก แต่ต่อมากลับฝ่าฝืน เช่นนี้ ภริยาฟ้องหย่าได้
(๑๑) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ซึ่งอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้โรคดังกล่าว ต้องมีลักษณะเรื้อรัง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(๑๒) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจ ร่วมประเวณีได้ตลอดกาล คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ตัวอย่างมาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่าวรรคที่ 1
นายดำกับนางแดงเป็นสามีภรรยากัน วันหนึ่งนางเขียวซึ่งเป็นเพื่อนกับนางแดงได้เห็นนายดำกับนางฟ้าเดินเข้าบ้านหลังหึ่งซึ่งเป็นบ้านที่นายดำซื้อให้นางฟ้าซึ่งเป็นภรรยาน้อยของนายดำ จึงได้นำเรื่องนี้ไปเล่าให้นางแดงฟังนางแดงจึงไปดักอยู่หน้าบ้านหลังดังกล่าวและพบว่านายดำเดินออกมาจากบ้านหลังนั้นจริง จึงทำให้นางแดงฟ้องหย่านายดำ

การดูหมิ่น

หมวด 1

ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

มาตรา 136 ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือ เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับหมายเหตุมาตรา 136

แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2519

มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจ ทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือ ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 139 ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วย หน้าที่หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินแปดพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตัวอย่างการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน

นายเอเป็นคนขับรถแท๊กซี่รับผู้โดยสาร ซึ่งให้เลี้ยวขวาใกล้ๆกับแยกไฟแดง แต่นายก็พิจารณาแล้ว เห็นว่าบริเวณนั้นเป็นเส้นประ ซึ่งตามกฏจราจรให้เปลี่ยนเลนได้ก็เลยเปลี่ยนเข้าเลนติดๆกัน ซึ่งเป็นเลนที่เลี้ยวขวาได้ แล้วตำรวจจราจรก็ออกจากป้อมมาเรียกขอใบขับขี่นายเอก็ไม่ให้เพราะเห็นว่าตนเองไม่ผิดแน่ๆ ถ้าให้ไปก็โดนใบสั่งชัวร์ๆดาบตำรวจชื่อบี เข้ามานั่งหน้ารถคู่กับนายเอให้ผู้โดยสารลงแล้วบอกให้นายเอไป สน.ระหว่างทางก็มีการโต้เถียงกันเรื่องผิดหรือไม่ผิด นายบีโมโหกะชากมือนายเอจะเอากุญแจมือมาใส่ ตามสัญชาติญาณผมก็ดึงมือกับ แล้วพูดต่อว่าไปว่า "เอะ ตำรวจทำไมทำงี่เง่าอย่างงี้ล่ะ" ไปถึงโรงพัก สน. นายดาบบี จึงแจ้งความนายเอว่า ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ด้วยข้อความว่า "งี่เง่า"