วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

พินัยกรรม

พินัยกรรม
พินัยกรรมมีความสำคัญ ก่อนที่จะทำพินัยกรรมต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ดีว่า เจตนายก ทรัพย์สินให้ใคร อย่างไร เพราะการทำพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายของเรานั้น ไม่จำเป็นต้อง ให้ทายาทตามกฎหมายของเราเท่านั้น หากพินัยกรรมได้ทำไปแล้วและถูกต้องก็ต้องบังคับตาม พินัยกรรม ทายาทอื่นจะมาอ้างขอแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่ทำยกให้ผู้อื่นไปแล้วมิได้ เพราะพินัยกรรมคือส่วนเจตนาที่สำคัญของเจ้ามรดกที่กฎหมายยอมรับและบังคับให้ ประการสำคัญ พินัยกรรมนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนด บางครั้งมีความละเอียดปลีกย่อย ออกไปมากยากแก่การอธิบายให้เข้าใจได้โดยละเอียด เพียงหนังสือฉบับนี้ ถึงแม้เรามีความรู้ พออ่านออกเขียนได้ ก็ควรจะทำที่อำเภอ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยบริการจัดทำพินัยกรรมให้เรา เรียกว่า พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เมื่อเราไปพบเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอ แสดงความ ประสงค์จะทำพินัยกรรม เจ้าหน้าที่ก็จะจัดทำให้ พินัยกรรมทุกแบบ เมื่อได้ทำขึ้นแล้วนั้น ผู้ทำพินัยกรรมมีสิทธิจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ทุกประการ สามารถยกเลิกได้โดยแก้ไข หรือทำพินัยกรรมฉบับใหม่ ซึ่งถือว่าพินัยกรรมฉบับเก่า ถูกเพิกถอนไปแล้ว หรือสามารถฉีกทำลายพินัยกรรมเสียก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ทำพินัยกรรมโดยตรง

ตัวอย่าง แบบพิมพ์ แบบฟอร์ม พินัยกรรมแบบเขียนเอง


พินัยกรรม
 
 
ทำที่……………………………….
วันที่…………เดือน……………………พ.ศ. ………...
ข้าพเจ้า…………………อายุ……ปี อยู่บ้านเลขที่…หมู่ที่…...….. ถนน…………ตำบล/แขวง…………………
อำเภอ/เขต...........................…............ จังหวัด.............................
ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้ เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้ทรัพย์สินของข้าพเจ้า
ทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีต่อไปในอนาคตตกได้แก่..........
...............................แต่ผู้เดียว
พินัยกรรมนี้ ข้าพเจ้าเขียนด้วยลายมือของข้าพเจ้าทั้งฉบับ ได้ทำไว้ ๒ ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรง
กันทุกประการ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่............................ อีกฉบับหนึ่งเก็บไว้
ที่.......................................
ขณะทำพินัยกรรมข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะปกติ
ข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว

ลงชื่อ................................................ผู้ทำพินัยกรรม


พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา

พินัยกรรมของ……………………………
เขียนที่.............................
วันที่………เดือน……………………..พ.ศ..…………
ด้วย……………………..…(ชื่อพยาน)………….………อยู่บ้านเลขที่……………..หมู่ที่……… ตำบล…………..…………………..อำเภอ………………….
จังหวัด…………………………..……. กับ……………………(ชื่อพยาน)……………….อยู่บ้านเลขที่………..หมู่ที่………ตำบล………………...…… อำเภอ…………………..…….จังหวัด…………..……………… พยาน…………..…..คน ได้แจ้งมาว่า………..…(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)
อยู่บ้านเลขที่………… หมู่ที่………..ตำบล………………………อำเภอ…………………………..จังหวัด………………………………ได้……………..…..…..
(ระบุพฤติการณ์พิเศษที่ขัดขวางมิให้ทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นได้)
………………………………………………………………………………………………………..…… ซึ่งไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบต่างๆ ที่ได้
กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ แสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้า
พยานซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ…..… (สถานที่ทำพินัยกรรม)….....…เมื่อวันที่….…..เดือน……….….……….พ.ศ….………ดัง
มีข้อความต่อไปนี้

ข้อ 1 ถ้า……..…..(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)…………. ถึงแก่ความตายไปแล้ว ให้บรรดาทรัพย์สินของ ..…..…..
(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)……………..ที่มีอยู่และจะเกิดขึ้นภายหน้า ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้
ในพินัยกรรมนี้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ
(1) ……………………………………………………….
(2) ……………………………………………………….
(3) ……………………………………………………….

ข้อ 2 …………(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)………ขอให้มอบพินัยกรรมนี้แก่………………………………… และขอตั้ง
ให้……………………………………………เป็นผู้จัดการมรดกและให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทุกประการ

ข้อ 3 …………………………………………………………..………………………………………… ………..………

ข้อ 4 ข้อความแห่งพินัยกรรมนี้ กรมการอำเภอได้อ่านทบทวนให้พยานฟังโดยตลอดแล้วพยานยืน
ยันว่าเป็นการถูกต้องตรงตามความที่………..…(ระบุชื่อผู้ทำพินัยกรรม)…………….สั่งไว้ด้วยวาจาทุกประการ
จึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้ากรมการอำเภอเป็นสำคัญ

(ลงลายมือชื่อ)………………………………….พยานผู้รับคำสั่งจากผู้ทำพินัยกรรม
(ลงลายมือชื่อ)………………………………….พยานผู้รับคำสั่งจากผู้ทำพินัยกรรม
(ลงลายมือชื่อ)………………………………….พยานรับรองลายมือชื่อ
(ลงลายมือชื่อ)………………………………….พยานรับรองลายมือชื่อ
วันที่…………..เดือน…………………………..พ.ศ…………...
ลายมือชื่อ……………………………………….กรมการอำเภอ
ประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ
ลงสมุดทะเบียนพินัยกรรมแล้วเลขที่…………………………..
.....................
เจ้าหน้าที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น